การทอดกฐิน

 

การทอดกฐินนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งของคนไทย โดยการนำผ้ามาถวายแก่พระภิกษุ ที่ได้จำพรรษามาครบ สามเดือนและการทอดกฐินจะทำได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น จะทำพิธีทอดกฐินหลังจากออกพรรษาแล้ว มีระยะเวลาในการรับกฐินได้หนึ่งเดือน นับจากวันออกพรรษาจนถึงวันลอยกระทง จะทำก่อนหรือหลังวันที่กำหนดนี้ไม่ได้เป็นอันขาด จึงเรียกช่วงนี้ว่าเทศกาลกฐิน ในสมัยก่อนการทอดกฐินคือการที่ชาวบ้านนำผ้าที่ทำไว้เพื่อจะไปถวายพระ แต่ไม่สามารถเจาะจงได้ว่าพระรูปไหน จึงได้นำผ้าที่เตรียมไว้ไปวางพาดบนต้นไม้ และเมื่อมีพระภิกษุสงฆ์รูปไหนมาเจอ ก็เก็บผ้านั้นนำไปใช้ได้เลย

กฐินมีอยู่ 2 ประเภท คือ กฐินหลวง กับ กฐินราษฎร์

กฐินหลวง 

ผ้ากฐินด้วยพระองค์เอง หรือบางที่ก็จะส่งตัวแทนพระองค์ไป ไม่ว่าจะเป็นวัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชาธิวาส วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นต้น กฐินหลวงยังแบ่งได้อีก2ประเภท กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่หน่วยงานราชการและคณะบุคลที่สำคัญ ที่สามารถ มาทูลขอผ้ากฐินของหลวงได้ แต่จะต้องทำเรื่องในการขอผ้ากฐินล่วงหน้า ต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนาของกระทรวงวัฒนธรรมมิฉะนั้นก็จะไม่ได้ และจะต้องเป็นวัดหลวงในจังหวัดเท่านั้นถึงจะทูลขอได้ กฐินต้น เป็นกฐินที่พระเจ้าอยู่หัวทรงนำผ้าไปทอดกฐินด้วยพระองค์เอง แต่ไปอย่างไม่เป็นทางการ และจะไม่ใช่วัดหลวง เป็นการทำส่วนพระองค์เอง

กฐินราษฎร์ 

เป็นกฐินที่ประชาชนได้ทำการนำผ้าไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวงที่เข้าไปถวายผ้าไม่ได้ ส่วนกฐินราษฎร์ยังสามารถเรียกได้อีกหลายอย่างกฐินสามัคคี คือกฐินที่เกิดจากการรวมใจของชาวบ้าน ที่มีจุดประสงค์เดียวกันที่จะนำผ้ากฐินไปถวายวัดใด วัดหนึ่ง การทอดกฐินยังสามารถแยกได้อีกอย่างเช่นจุลกฐิน คือการทำกฐินแบบรีบเร่งและต้องทำให้จบในวันเดียว มหากฐิน คือการทอดกฐินในวัดที่ตัวเองศรัทธาเป็นพิเศษและจะถวายของใช้รวมได้ด้วย กฐินตกค้าง คือการทอดกฐินตามวัดที่ไม่ค่อยมีคนไปถวายผ้ากฐิน และผู้มีจิตศรัทธาในศาสนาก็จะตามหาวัดเหล่านี้ เพื่อจะนำถวายผ้ากฐินแต่ส่วนมากจะทำใกล้หมดเทศกาลทอดกฐิน

การทอดกฐินถือได้ว่าเป็นการทำบุญที่ได้กุศล ผลบุญดีเพราะการทอดกฐินนี้จะทำได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น และยังทำให้ชาวบ้านรักใคร่ร่วมมือร่วมใจกันจัดงานถวายกฐินและการทอดกฐินนี้ทำได้ทุกภาค ทุกจังหวัดไม่ถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญของภาคใดภาคหนึ่ง