การมาเป็นประชาธิปไตยของอังกฤษ นอกเหนือไปจากสาเหตุที่ว่าอังกฤษเป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นประเทศประชาธิปไตยแล้วอีกสาเหตุก็เพราะว่าเวลามีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง การเมืองการปกครองหรือการมีอยู่ของสถาบันต่างๆ
อังกฤษก็มักจะเป็นประเทศที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับเราอยู่เสมอ
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่ากว่าประชาธิปไตยในอังกฤษจะมีเสถียรภาพขนาดนี้ใช้เวลานานแค่ไหนผ่านอะไรมาบ้างและปัจจุบันเป็นอย่างไรเป็นเรื่องค่อนข้างชันเจนว่าการจะบรรลุเป้าหมาย การเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้นไม่ใช่เรื่อง่ายถ้าเกิดง่ายป่านนี้บ้านเราคงเป็นประเทศโลกที่ 1 ไปแล้วมั้ง
สำหรับอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรนี้ก็เช่นเดียวกันประชาธิปไตยไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือกะทันหันข้ามคืนแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆบ้างใหญ่ๆบ้างที่สะสมสลับกันมาเรื่อยๆตลอดหลายร้อยปีบางการเปลี่ยนแปลงก็เกิดจากการปฏิวัติ
บางครั้งก็เป็นการตกลงกันได้เองในรัฐสภาแต่ถ้าจะสรุปให้เห็นภาพใหญ่อย่างรวบรัดการพัฒนาทางการเมืองของอังกฤษนั้นแบ่งเป็นเวทีมวยได้ 3 เวทีใหญ่ๆ นั่นก็คือ ระหว่างกษัตริย์ และ ขุนนาง ในยุคศักดินา ระหว่าง กษัตริย์ และ รัฐสภาและคู่สุดท้ายก็คือ ระหว่างรัฐสภา หรือ รัฐบาล และ ป ระชาชน
ถ้าหากเราย้อนกลับไปดูเรื่อง มหากฎบัตร หรือ แมกนา คาร์ตา เอกสารฉบับแรกที่ขุนนางเจ้าของที่ดินหรือที่เรียกว่าพวกบารอนบังคับให้พระเจ้าจอห์นเซ็นในคริสต์ศักราชที่ 1215
ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่ประกาศว่ากษัตริย์จะทำทุกอย่างตามอำเภอใจไม่ได้นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนคนธรรดาตรงไหนเลยเหล่าบารอนไม่ได้บังคับให้กษัตริย์เซ็นเอกสารเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั่วไปเขาบังคับให้เซ็นเพื่อยกเลิกการใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจไม่จำกัดของกษัตริย์
กษัตริย์จะได้ไม่มาเอาแต่ใจกับเหล่าบารอนมาจับลูกหลานบารอนไปขังถ้าขัดคำสั่งที่สำคัญเพื่อห้ามกษัตริย์ไม่ให้ไถเงินพวกบารอนได้ตามอำเภอใจ gclub ฝาก ขั้นต่ำ 20 อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่น่าสนใจแม้แต่ก่อนยุคของแมกนา คาร์ตา ในพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ก็จะมีพระราชดำรัสเป็นคำมั่นสัญญาต่อขุนนางและบารอน
ในโครงสร้างศักดินาว่าจะทรงรับประกันสิทธิต่างๆของขุนนางและบารอนด้วยวาจามาตลอดธรรมเนียมนี้มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1000 ต้นๆตอนที่กษัตริย์และขุนนางอังกฤษร่วมมือกันปฏิรูปอำนาจของศาสนจักรและนำเกาะอังกฤษออกจากภายใต้การปกครองโดยตรงของศาสนจักรที่กรุงโรม
เรื่องของเรื่องก็คือเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงยุคของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์หรือ Richard The Lion Heart จะมีการทำสงครามครูเสดอย่างยาวนานทำให้กษัตริย์ถังแตกและต้องหันมารัดภาษีเอาจากประชาชนและขุนนางมากขึ้น